หัวข้อข่าว จำนำข้าวเรื่องมันยาว
ที่มา; คอลัมน์ บนความเคลื่อนไหว กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2559
สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี sutthirak@nationgroup.com
รัฐบาล โดยรองนายกรัฐมนตรีวิษณุ เครืองาม บอกว่า จะเร่งสรุปให้ความรับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าว ให้เสร็จใน เดือนสองเดือนนี้ บังเอิญเพื่อนเป็นตำรวจ ทำหน้าที่พนักงานสอบสวนเรื่องทุจริตรับจำนำข้าว คุยกันหลายเดือนก่อน เห็นว่าเร่งปิดสำนวน และเมื่อวันสองวันนี้ ได้เจอหน้ากันอีกครั้ง เพื่อนบอกว่า “สงสัยเรื่องคงยาว” เพราะตอนตำรวจทำสำนวนไปนั้น ตั้งต้นที่เซอร์เวเยอร์ ไปหาโรงสี โดยการใช้เซอเวเยอร์ตรวจสอบคุณภาพข้าวไม่ได้มาจาก ผู้ที่มีความรู้เรื่องข้าว แต่เป็นเซอร์เวเยอร์เฉพาะกิจ กว่า 90% จัดตั้ง
ขึ้นมาใหม่เพื่อหาประโยชน์จาก โครงการรับจำนำข้าว เมื่อตำรวจ ส่งสำนวนถึงมืออัยการ ปรากฏว่าอัยการตีสำนวนกลับ อัยการเห็นว่า ความผิดเรื่องนี้ต้องเริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนชาวนา ผมมีข้อมูล ว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการที่มีการรั่วไหลและ
ทุจริตได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การ ขึ้นทะเบียนชาวนา การนำข้าวเข้าโรงสี การส่งข้าวที่สีแปรสภาพแล้ว ไปยังโกดัง และขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนในการระบายข้าว มีโรงสี ที่เข้าร่วมโครงการกับรัฐบาล ประมาณ 800 – 900 แห่งจากโรงสีทั้งหมดในประเทศที่มีประมาณ 2,000 แห่ง โดยโรงสีที่ไม่เข้าร่วมโครงการเพราะไม่ต้องการจ่ายเงินใต้โต๊ะ และต้องไปวิ่งเต้นหลายขั้นตอน
โรงสี ต้องจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น โรงสีก็จะไปกดราคารับจำนำจากชาวนา ทั้งนี้ในขั้นตอนหลังจาก ที่มีคำสั่งในการสั่งสีแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร การส่งข้าว ไปเก็บไว้ในโกดังโรงสี จะต้องพึ่งพาบริษัทเซอร์เวเยอร์ โดยใน หลายพื้นที่เซอร์เวเยอร์เรียกเก็บเงินกระสอบละ 7 บาท หรือ ตันละ 70 บาท โรงสีที่ถูกเรียกเงินส่วนใหญ่ก็จะยอมจ่าย เนื่องจาก ไม่ต้องการขนข้าวกลับ กลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย อำนวย คลังผา ท้าให้รัฐเปิดเผยว่า มีโรงสี โกดัง ที่ไหนเก็บข้าวจากโครงการรับจำนำข้าวไว้บ้าง และเป็นข้าวเสีย ข้าวดี อย่างไร ความเสียหายของแต่ละจุดที่เก็บข้าวไว้ มีแค่ไหน อยากชวน คุณอำนวย ไปดูโกดังใกล้ๆ ที่ อ.หนองเสือ ปทุมธานี นี่เอง ข้าวในโครงการรับจำนำข้าว อัดอยู่ 2 โกดังใหญ่ เป็นอาหารนก หนู และมอด