หัวข้อข่าว หนังสือ ‘การลงโทษโดยสังคม‘โดย สังศิต พิริยะรังสรรค์
ที่มา: คอลัมน์ ปฏิรูปประเทศไทย, กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 โดย รศ.วิทยากร เชียงกูล
หนังสือ “การลงโทษโดยสังคม” (Social Sanctions) ของอ.สังศิต พิริยะรังสรรค์ มีเนื้อหา ส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับเรื่องขบวนการประท้วงการทุจริตคอร์รัปชันทั้งในต่างประเทศและในไทย มี 6 บท
1. บทนำ ความสำคัญของปัญหา, วัตถุประสงค์การศึกษา, วิธีวิทยาในการวิจัย ฯลฯ
2. แนวคิดและทฤษฎีการลงโทษโดยสังคม-แนวคิดทฤษฎีเรื่อง Social Sanctions และวิธีวิทยาในการวิจัยของ นักวิชาการโลกตะวันตกที่สำคัญหลายคน 2 บทแรกเขียนแนววิทยานิพนธ์ เหมาะสำหรับนักวิชาการหรือนักศึกษาปริญญาโท-เอก ส่วนเนื้อหาสาระที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่เหมาะสำหรับผู้อ่านทั่วไปอยู่ที่ 4 บทหลัง
3. การลงโทษโดยสังคม: กรณีศึกษาฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อียิปต์ และอินโดนีเซีย
- การต่อต้านคอร์รัปชันโดยมาตรการลงโทษทางสังคม 5. การลงโทษโดยสังคมเชิงบวก: บทวิเคราะห์การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
- สรุปและอภิปรายทั่วไป Social Sanctions หมายถึงกลไกชนิดหนึ่งของสังคม ที่สังคมใช้เป็นปทัสฐาน (Norm) หรือเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรม ของบรรดาสมาชิกในสังคมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น เช่น การแสดงออกที่ไม่เห็นชอบด้วยโดยการใช้การลงโทษโดยสังคมเชิงลบกับบุคคล ครอบครัว องค์กร สถาบัน ชนชาติ หรือประเทศแห่งหนึ่งๆ เพื่อให้เกิดการจัดระเบียบขององค์กรหรือของโลก เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีปฏิบัติและการเห็นพ้องร่วมกันในสังคม และเป็น การสร้างข้อผูกพันทางสังคมร่วมกัน
Social Sanctions ยังรวมถึงการแสดงออกทางบวกในการสนับสนุนหรือการให้รางวัลเป็นแรงจูงใจให้คนทำสิ่งที่สังคม เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีก็ได้ด้วยเช่นกัน เช่น การรณรงค์ไม่ให้คนสูบบุหรี่ ถือว่าเป็นเรื่องทางบวก คำว่า Sanctions ตามตัวหนังสือแปลได้ ทั้งการลงโทษและการอนุมัติ การใช้คำว่า การลงโทษทางสังคม จะเหมาะกับการแสดงออก ทางลบมากกว่า
ถ้าใช้คำว่า การกดดันทางสังคม น่าจะ ใช้ได้ทั้งทางบวกและทางลบ ทางราชบัณฑิตใช้คำว่า สิทธานุมัติทางสังคม ซึ่งฟังแล้วเข้าใจยาก คำว่า คว่ำบาตร เป็นคำที่คนไทยคุ้นกว่าแต่หมายถึงการกดดันในทางลบ ในประวัติศาสตร์สังคมส่วนใหญ่ Social Sanctions คือ การกดดันในทางลบ กรณีที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงส่วนใหญ่คือกรณีที่ประชาชนร่วมกัน Sanctions รัฐบาลที่ทุจริตฉ้อฉล ทั้งในต่างประเทศและในไทย (เน้นสมัยรัฐบาลทักษิณและยิ่งลักษณ์)
การลงโทษทางสังคมเป็นการใช้ เครื่องมือที่นอกเหนือไปจากกฎหมายในรอบสิบกว่าปีที่ผ่านมามีกรณีที่คนไทยที่ตื่นตัว ทำ Social Sanctions รัฐบาลที่ทุจริตฉ้อฉล ที่เห็นได้ชัดหลายเรื่อง เช่น การไม่ไปใช้สิทธิ เลือกตั้ง การจงใจทำบัตรเสีย การลงคะแนน ไม่ประสงค์จะเลือกใครในการจัดการเลือกตั้ง ที่รัฐบาลกลุ่มทักษิณรีบยุบสภาหนีปัญหา และจัดเลือกตั้งใหม่ โดยที่พรรคฝ่ายค้านและ ประชาชนไม่เห็นด้วย การรณรงค์คว่ำบาตร ถอนเงินปิดบัญชีธนาคารออมสิน เมื่อรัฐบาลบีบให้ธนาคารออมสินปล่อยกู้ให้ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์ไปใช้จ่ายโครงการ รับจำนำข้าวที่ทั้งขาดทุนทั้งทุจริตฉ้อฉล การคว่ำบาตรเลิกเป็นลูกค้าของบริษัทโทรศัพท์มือถือและบริษัทในเครือของกลุ่มทักษิณ ฯลฯ เรื่องที่อ.สังศิตนำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการการประท้วงทางการเมืองและ สังคมที่ความจริงแล้วมีเนื้อหากว้างขวางกว่า Social Sanctions
บทที่ 3 กรณีศึกษาการลงโทษโดยสังคมในประเทศ 4 ประเทศ กำลังพัฒนานั้น ช่วยให้เราเห็นปัญหาในประเทศอื่นที่มีส่วนคล้ายกับไทยมากขึ้น แม้ในบางประเทศ ประชาชนจะตื่นตัวมากถึงกับประท้วงขับไล่ รัฐบาลที่ทุจริตฉ้อฉลอยู่มานานได้สำเร็จ และมีการจัดการเลือกตั้งใหม่
แต่หลังจากนั้นรัฐบาลชุดต่อๆ มาก็ ทุจริตฉ้อฉลและโดนประชาชนขับไล่อีก เช่นกัน น่าคิดน่าศึกษาต่อว่าทำไมพลัง ทางสังคมจึงมีข้อจำกัด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ปทัสฐานหรือบรรทัดฐาน (Norm) ของ สังคมให้สามารถได้รัฐบาลที่ดีขึ้นจริงๆ ได้ เสียที เมืองไทยตอนนี้ก็กำลังมีปัญหา คล้ายกัน
บทที่ 4 ถึง 6 เป็นกรณีศึกษาเรื่อง เมืองไทย กรณีการลงโทษโดยสังคมซึ่งรวมทั้ง การประท้วงรัฐบาลทักษิณและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รูปแบบอื่นๆ ด้วย เป็นการสรุปเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้นไว้ได้อย่างครอบคลุมน่า สนใจ เรื่องพวกนี้รัฐบาลคสช. น่าจะสนใจนำไปเผยแพร่ให้ประชาชนทราบมากขึ้น เพราะยังมีประชาชนที่ไม่รู้และมีเชื่ออีกแบบหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงอยู่มากพอสมควร
บทที่ 5 ว่าด้วยการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ เล่าเรื่องและสรุปได้ดี แต่การรณรงค์เรื่อง การไม่สูบบุหรี่คงจะมีหลายเรื่องประกอบกัน ไม่ใช่ Social Sanctions อย่างเดียว เช่น การรณรงค์ผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ การขึ้นราคาบุหรี่ และมีทุนและกำลังคนรณรงค์ด้านการให้ความรู้และออกสื่อในเรื่องนี้มาก ฯลฯ แต่ก็ถือว่าเป็นกรณีตัวอย่างที่การกดดันทางสังคมมีผลสำเร็จค่อนข้างมาก นี่เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจว่าเราจะนำเรื่องการกดดันทางสังคมไปใช้กับเรื่องดีเรื่องอื่นๆ เช่น รณรงค์ให้คนรักอ่านหนังสือ รณรงค์ให้คนรังเกียจและต่อต้านการทุจริตฉ้อฉลทุกเรื่อง ทุกรูปแบบ ฯลฯ ได้หรือไม่ อย่างไร รวมทั้งการกดดันทางสังคมต่อรัฐบาลทุจริต น่าวิจัยต่อว่าจะทำให้เกิดผลยั่งยืนหรือทำให้เกิดการยอมรับของประชาชน (ในเรื่องว่ารัฐบาลไม่ควรจะทุจริตเลย) สูงขึ้น ได้อย่างไร เรื่องความคิด, การตื่นตัวของประชาชนเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องรัฐธรรมนูญ กฎหมายทางการเมืองต่างๆ อาจจะสำคัญมากกว่าด้วย