หัวข้อข่าว: ป้าย‘ กับการ ‘คอร์รัปชัน
ที่มา: คอลัมน์ เรียนธรรมในธุรกิจ, กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559 โดย โกศล อนุสิม
ป้ายเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันได้อย่างไรหากเป็นป้ายธรรมดาสามัญทั่วไปที่พบเห็นอยู่ตามถนนรนแคม สถานที่ต่างๆ เพื่อชื่อสถานที่ บอกทาง บอกเล่าประวัติสถานที่นั้นๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับการ คอร์รัปชันที่จะพูดถึงในที่นี้ แล้วป้ายชนิดใดที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันได้
ก่อนจะพูดถึงเรื่องนั้น เรามาลองพิจารณาป้ายต่างๆ ที่เราพบเห็นโดยทั่วไป ทั้งในที่ส่วนตัวและที่สาธารณะ ซึ่งแยกแยะประเภทได้ หลายชนิดตามวัตถุประสงค์ ซึ่งในที่นี้จะขอพูดถึงชนิดเดียวคือป้ายบอก ชื่อผู้สร้าง ซึ่งเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เช่น องค์กรธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ รวมไปถึงหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างป้ายประเภทดังกล่าวที่พบเห็นบ่อยตามถนนในเมืองใหญ่ๆ รวมถึงกรุงเทพมหานครก็คือ ป้ายที่ติดไว้กับสะพานลอยคนข้ามถนน ซึ่งแทบทั้งหมดเขียนติดไว้ที่ตัวสะพานให้คนขับรถผ่านสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยข้อความเป็นไปในรูปแบบเดียวกันว่า สะพานนี้สร้างเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณะโดย…ในจุดไข่ปลานั้นคือชื่อของผู้สร้าง อาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็น นิติบุคคล
การประกาศชื่อผู้สร้างเช่นนี้ วัตถุประสงค์หลักย่อมเป็นการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้คนได้รับรู้ว่า ตนได้ทำประโยชน์แก่สังคม สละทรัพย์สินอันหา มาได้ด้วยความเหนื่อยยากแก่ สาธารณะ สิ่งที่ตามมาก็คือ คำ ชื่นชมยกย่อง ความนิยมชมชอบ ในกรณีของบุคคลธรรมดา ก็มัก จะเป็นบุคคลผู้มีทรัพย์มาก มีชื่อเสียงและสถานะดีในทาง สังคม หากเป็นนิติบุคคล ถ้าไม่ใช่ องค์กรทางการกุศลที่จัดตั้งมาเพื่อทำประโยชน์แก่สาธารณะโดยตรง ก็มัก เป็นองค์กรธุรกิจต่างๆ ที่มีนโยบายคืนกำไรสู่สังคม เป็นส่วนหนึ่งของ ที่เรียกกันว่าความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ซึ่งเป็นหลักการบริหารงานองค์กรสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่าธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ โดยชอบธรรม เพราะค่าใช้จ่ายที่นำมาสร้างนั้น มาจากรายได้ขององค์กร
แต่มีป้ายบอกชื่อผู้สร้างอีกส่วนหนึ่ง ที่มีข้อให้ชวนสงสัยว่า เป็นป้ายที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง นั่นคือ ป้ายบอกชื่อผู้สร้างถาวรวัตถุแก่สาธารณะซึ่งส่วนมากมีอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งมีชื่อของ นักการเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ข้าราชการชั้นสูง รวมถึง คู่สมรส ปรากฏให้เห็นว่าเป็นผู้สร้าง ชวนให้เข้าใจว่า เป็นผู้ออกทุน ในการสร้างสิ่งเหล่านั้น หรือหากเป็นนักการเมืองก็มักมีป้ายระบุข้อความทำนองว่า “ติดตามงบประมาณ โดย…” หรือ “ผลักดันโครงการโดย…” เป็นต้น
หากผู้ที่ระบุชื่อไว้ที่ป้ายเป็นผู้ออกทุนในการสร้างจริง ก็ย่อมมีความชอบธรรมที่จะใช้ชื่อของตนเป็นผู้สร้าง แต่ถ้าหากเป็นงบประมาณของทางราชการย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะใส่ชื่อของตนไว้จนชวนให้เข้าใจผิดว่าเป็นผู้สร้าง เพื่อหวังประโยชน์ในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเสียง คำยกย่อง หรือในกรณีของนักการเมืองคือความนิยมชมชอบของประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์มีเสียงเลือกตั้ง เพื่อหวังให้ประชาชนลงคะแนนเสียงแก่ตน การกระทำเช่นนี้ย่อมถือเป็นการคอร์รัปชันอย่างชัดเจน
ประชาชนอย่างเราๆ ท่านๆ ก็ควรพินิจพิจารณาให้ดีว่า สิ่งของสาธารณะที่ปรากฏชื่อผู้สร้างเป็นข้าราชการระดับสูง นักการเมือง หรือคู่สมรสของข้าราชการแลนักการเมืองดังกล่าวว่าเป็นผู้สร้างนั้น มีความน่าเชื่อถือว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ก่อนปักใจเชื่อ
เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันกลโกงคอร์รัปชันที่บั่นทองสังคมและประเทศชาติมาแล้วในอดีตและเป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะมีต่อไป ในอนาคตไม่หมดแน่ ถ้าพวกเรายังรู้ไม่เท่าทันพวกเขาเหล่านั้น