หัวข้อข่าว: กฎหมาย’เพื่อใคร?
ที่มา: โลกวันนี้ ฉบับวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559
ร่างกฎหมาย 7 ชั่วโคตรที่รัฐบาลกำลังผลักดันให้ออกมาบัง คับใช้และคุยว่าเป็นกฎหมายปราบโกงอย่างแท้จริง เมื่อออกมาแล้วจะสามารถสกัดกั้นการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้พ่อแม่ ลูกเมีย ญาติพี่น้องได้ น่าเสียดายที่ตามหลักการกฎหมายจะไม่ใช้บังคับย้อนหลัง จึงไม่มีโอกาสได้เห็นการลงโทษคนที่เซ็นเบิกเครื่องบินหลวงให้เมียนั่ง คนที่เซ็นรับลูกเป็นข้าราชการติดยศกินเงินเดือน หรือพวกที่ตั้งเมีย ตั้งลูก เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว เป็นที่ปรึกษากินเงินเดือนหลวงช่วยทำงานในสภา กฎหมายจะศักดิ์ สิทธิ์ถ้าบังคับใช้อย่างเสมอภาคไม่เลือกโคตรจากไม่มีค่าหัวคิวแค่มี “ส่วนต่างที่มากเกินไป” กรณีไมค์ทองคำในการปรับปรุงห้องประชุมคณะรัฐมนตรี
จากไม่มีค่าหัวคิวเป็นแค่ “ค่า ที่ปรึกษาให้ได้งาน” ในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ มาถึง “ถูกทำให้ตายผิดธรรมชาติ แต่ไม่ใช่ฆาตกรรม” กรณีนายธวัชชัย อนุกูล อดีตเจ้าพนัก งานที่ดิน จังหวัดพังงาเสียชีวิต ในห้องขังของสำนักงานกรมสอบ สวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เจ้าหน้า ที่ขอเวลาสอบสวนข้อเท็จจริงเพิ่ม ไม่อยากให้ด่วนสรุป
ทุกเรื่องเกิดในยุคปฏิรูปที่ต้องการทำให้แผ่นดินโปร่งใส ปราศจากทุจริตและอำนวยความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม
สองเรื่องข้างบนจบไปแล้วแบบคาใจประชาชนที่สนใจข่าว สารบ้านเมือง ส่วนเรื่องข้างล่างจะจบอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป เช่นเดียวกับเรื่องใช้เครื่อง บินกองทัพไปเปิดฝายทดน้ำ เรื่องนิติบุคคลหน้าใหม่ทุนจดทะเบียนไม่มากได้งานของหน่วยงานในกองทัพภาคที่ 3 รวมมูลค่าร้อยกว่าล้านของภริยาและบุตรของ “บิ๊กติ๊ก” พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม
ทั้งสองเรื่องถูกยื่นให้หน่วยงานตรวจสอบอย่างคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบความถูกผิดแล้ว ผลจะออกมาอย่างไรก็ต้องติดตามตอนต่อไป
แต่ที่แน่ๆกรณีของภริยาและบุตร “บิ๊กติ๊ก” ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความเลื่อมใสศรัทธาในเรื่องความโปร่งใสที่มีต่อรัฐบาล “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
โดยเฉพาะเรื่องกฎหมาย 7 ชั่วโคตร ที่ภายหลังลดลงมาเหลือ 4 ชั่วโคตรซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ก่อนหน้านี้กระแสข่าวผลักดันกฎหมาย 4 ชั่วโคตรทำให้รัฐบาลได้รับเสียงปรบมือเกรียวกราว ชื่น ชมในความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาทุจริตในวงราชการ และแวดวงการเมือง
หลักการเอาผิดของกฎหมาย 4 ชั่วโคตรคือ ผู้กระทำผิดเป็นโคตรที่ 1 ถ้าเอื้อประโยชน์ต่อลูกเป็นโคตรที่ 2 เอื้อประโยชน์ต่อพ่อแม่เป็นโคตรที่ 3 เอื้อประโยชน์ต่อพี่น้องเป็นโคตรที่ 4
ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ไปถึงใครคนนั้นต้องได้รับโทษด้วย
ร่างกฎหมายนี้ถูกได้รับการยกย่องว่าเป็นกฎหมายปราบโกงที่แท้จริง
แหม่…อยากให้กฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้เร็วๆ
แต่ก็น่าเสียดายที่ตามหลักการของกฎหมายจะไม่ใช้บังคับย้อนหลัง จึงจะไม่มีโอกาสได้เห็นการลงโทษคนที่เซ็นเบิกเครื่องบินหลวงให้เมียนั่งไปเปิดงาน คนที่เซ็นรับลูกเป็นข้าราชการติดยศกินเงินเดือน หรือพวกที่ตั้งเมีย ตั้งลูกเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำตัว เป็นที่ปรึกษาช่วยทำงานในสภา
สังคมไทยอยากเห็นกฎหมายบังคับใช้อย่างเสมอภาคไม่เลือกโคตร
ข่าวผลักดันกฎหมาย 4 ชั่วโคตรทำให้รัฐบาลได้รับเสียงปรบมือเกรียวกราวชื่นชมในความตั้งใจแก้ไขปัญหาทุจริต