หัวข้อข่าว: บทบาทที่เสริมกัน ของคณะผู้บริหาร
ที่มา: คอลัมน์ คิดเป็นเห็นต่าง, โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2559 โดย ธนกร พรรัตนานุกุล, หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญการวิจัย (สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD))
ต่อจากฉบับที่แล้ว บทบาทการทำหน้าที่ของคณะกรรมการและผู้บริหารในองค์กรจะเสริมกันอย่างไร ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกอย่างรวดเร็ว จากหนังสือ The Future of Boards: Meeting the Governance Challenge of the Twenty-First Century ได้กล่าวถึงบทบาทของกรรมการในปัจจุบันว่าสามารถที่จะทาหน้าที่ของตนให้ดีขึ้นได้โดยจะต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่
1.Board’s role – คณะกรรมการจะต้องเข้าไปมีบทบาทและอุทิศเวลาในการทำหน้าที่กำกับดูแลองค์กรมากขึ้น กล่าวคือ กรรมการ จะต้องมีการเข้าไปพบปะ ประชุมและพูดคุยกับฝ่ายบริหารมากขึ้น เพื่อให้ทำหน้าที่กำกับดูแลได้อย่างเต็มที่ โดยเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าไปกำกับดูแลมากขึ้น ประกอบด้วย เรื่องการกำหนดและวางกลยุทธ์ทิศทางองค์กร กระบวนการบริหารงาน การวางแผนสืบทอดตำแหน่งและพัฒนาบุคลากร การบริหารความเสี่ยงองค์กร และการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและข้อบังคับ
2.Board’s understanding of the company – คณะกรรมการ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในลักษณะการดำเนินงานขององค์กรที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่อย่างแท้จริง โดยแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับกรรมการประกอบด้วย แหล่งข้อมูลจากฝ่ายบริหาร แหล่งข้อมูลจากภายนอก ไม่ว่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิเคราะห์ และผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร และจากประสบการณ์ของกรรมการเอง
3.Board-management relationship – คณะกรรมการจะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรรมการจะต้องคอยตั้งคำถามและท้าทายฝ่ายบริหารในกิจกรรมที่ฝ่ายบริหารตัดสินใจดำเนินการ ในขณะเดียวกันกรรมการเองก็จะต้องคอยทำหน้าที่สนับสนุนฝ่ายบริหารเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องที่ฝ่ายบริหารต้องอาศัยประสบการณ์ของกรรมการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ และที่สำคัญ กรรมการและฝ่ายบริหารควรร่วมกันจัดให้มีช่องทางที่สามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานในเรื่องที่สำคัญได้รับการพิจารณาอย่างทันท่วงที
จากแนวคิดที่สะท้อนไว้ในหนังสือเล่มนี้สามารถตอบคำถามก่อนหน้านี้ได้เป็นอย่างดีว่า การทำหน้าที่ของกรรมการในโลกธุรกิจปัจจุบันอาจจะต้องเข้าไปมีบทบาทและเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรมากขึ้น มิฉะนั้น กรรมการอาจขาดข้อมูลที่เพียงพอต่อการ ตัดสินใจ และอาจรู้ไม่เท่าทัน ต่อเหตุการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การเข้าไปมีบทบาทมากขึ้นของกรรมการยังเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายบริหารอีกด้วย เพราะหนึ่งในจุดประสงค์ของการจัดให้มีกรรมการนั้นก็เพื่อให้องค์กรได้รับคำแนะนาจากมุมมองภายนอก อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการกำหนดทิศทางและการสร้างการเติบโตให้เกิดขึ้น ดังนั้นฝ่ายบริหารเองก็ควรที่จะมองเห็น มุมมองที่เป็นประโยชน์นี้ พร้อมทั้งให้ความร่วมมือและการสนับสนุนการทำหน้าที่ของกรรมการเช่นกัน
สิ่งที่ฝ่ายบริหารสามารถทำได้เพื่อสนับสนุนการทำหน้าที่ของกรรมการที่จะต้องเข้ามามีบทบาทในองค์กรมากขึ้นก็คือการให้ข้อมูลที่เพียงพอแก่กรรมการ โดยข้อมูลที่ให้กับกรรมการนั้นมีอยู่สองส่วน สำคัญด้วยกัน คือ ข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ (Decision Information) และข้อมูลที่เป็นผลประกอบการ (Performance Information) โดยปกตินั้น ข้อมูลที่กรรมการมักได้รับเพื่อประกอบการพิจารณาคือข้อมูลที่เป็นผลประกอบการ แต่สิ่งที่จะช่วยสร้างคุณค่าในการทำหน้าที่ให้กับกรรมการมากขึ้น มักจะมาจากข้อมูลที่ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานภายในองค์กร ข้อมูลทางด้านกลยุทธ์และความเสี่ยง และข้อมูลที่เป็นปัจจัยภายนอก ตัวอย่างเช่น สภาวะทางเศรษฐกิจ สภาวะการแข่งขัน และกฎ ระเบียบใหม่ที่เกี่ยวกับองค์กร เป็นต้น เพราะข้อมูลเหล่านี้ จะทำให้กรรมการสามารถเข้าใจองค์กรได้ในมุมมองที่กว้างขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่กำกับดูแลอย่างแท้จริง
ดังนั้น หากกรรมการและฝ่ายบริหารต่างเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของกันและกัน รวมทั้งร่วมมือร่วมใจทำหน้าที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน การดำเนินการใดๆ ขององค์กรภายใต้ความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็คงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และทำให้องค์กรที่ต้องเผชิญ กับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้รับผลกระทบที่น้อยลง
หากกรรมการและ ฝ่ายบริหารต่างเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กันและกัน รวมทั้งร่วมมือร่วมใจทำ หน้าที่สนับสนุน ซึ่งกันและกัน การดำ เนินการใดๆ ขององค์กร ภายใต้ความท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็คงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น และทำ ให้องค์กรที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้รับผลกระทบที่น้อยลง