ปปช : การจัดทำ Benchmark ด้านคอร์รัปชันสำหรับประเทศไทย

การจัดทำ Benchmark ด้านคอร์รัปชันสำหรับประเทศไทย

Author :  ดร.วิชัย รูปขำดี

 

Team :

 

Abstract TH : การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาเครืองมือสำหรับประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันในประเทศ โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เพิ่มเติมจากข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้รายงานไว้แล้วในรูปแบบข้อมูลเชิงความคิดเห็นหรือการรับรู้ (Perception-base) จากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยของไทยและต่างประเทศ เพื่อยกร่างเป็นข้อเสนอเบื้องต้นเกี่ยวกับมาตรฐาน องค์ประกอบหลักและตัวชี้วัดเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์การคอร์รัปชัน และการเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้สันทัดกรณีช่วยตรวจสอบความตรงประเด็น (Objective) หลายครั้งจนตกผลึก ผลของการจัดทำจึงได้เครื่องมือประเมินที่มีตัวชี้วัดทั้งหมดจำนวน 59 ตัวชี้วัด โดยแยกตัวชี้วัดจำนวน 29 ตัวชี้วัดที่มีหน่วยงานภาครัฐได้เก็บรวบรวมข้อมูลไว้แล้วและสามารถนำมาใช้ประเมินได้ทันที ส่วนที่เหลืออีก 37 ตัวชี้วัดยังไม่ได้เก็บข้อมูลมาก่อนซึ่งควรเลือกมาใช้เป็นตัวชี้วัดในอนาคตต่อไป

 

ความเป็นมา และความสำคัญ :   สถานการณ์คอร์รัปชันยังคงเป็นปัญหาอยู่ในวงการเมือง ธุรกิจ การเงิน การลงทุน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของหลายประเทศ จนเป็นที่น่าสนใจทำให้การศึกษาและติดตามประเมินผลของหน่วยงานด้าน การพัฒนาหลายแห่ง เช่น องค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก สถาบัน การบริหารจัดการระหว่างประเทศและองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ เป็นต้น ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือวัดระดับความรุนแรงของการทุจริตคอร์รัปชัน การรายงานสถานการณ์คอร์รัปชันดำเนินการโดยองค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระต่อต้านคอร์รัปชัน ได้ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ดัชนีการรับรู้คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index: CPI) เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ในประเทศไทยที่มีพฤติกรรมทุจริตฉ้อฉลยังคงเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีแนวโน้มรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น

 

แนวคิด/ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง :   แนวคิดเชิงระบบ รูปแนวคิดเชิงระบบ หลักธรรมาภิบาล

 

Objective :  เพื่อศึกษาพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการคอร์รัปชันในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ (Evidence-based) เพิ่มเติมจากข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้รายงานไว้แล้วในรูปแบบข้อมูลเชิงความคิดเห็นหรือการรับรู้ (Perception-based)

 

NACC page Link